วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบจำลองโอเอสไอ OSI

แบบจำลองโอเอสไอ OSI(Open Systems Interconnection)

               ในปี พ.ศ. 2512 องค์กร ISO (International Organization for Standardization) ได้เห็นถึงปัญหาการเข้ากันไม่ได้ของระบบคอมพิวเตอร์จากบริษัทผู้ผลิตต่างๆ ทำให้ไม่สะดวกต่อผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ จึงได้ร่างกรอบมาตรฐานของการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นระบบเปิด เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์จากบริษัทต่างๆ สามารถใช้งานร่วมกันได้ โดยกำหนดมาตรฐานกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เรียกว่า มาตรฐานการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเปิด (Open Systems Interconnection; OSI) หรือเรียกว่าแบบจำลองโอเอสไอ ซึ่งช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้เกิดการพัฒนาให้บริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างประเทศ และทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สะดวกมากขึ้นในการเลือกใช้งานระบบต่างๆ แบบจำลองโอเอสไอแบ่งกลุ่มการทำงานตามหน้าที่ในแต่ละระดับออกเป็น 7 ระดับชั้น

 

1. ชั้นประยุกต์ (Application)

            เป็นชั้นบนสุดของแบบจำลองโอเอสไอ ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในการติดต่อกับระบบเครือข่าย ประกอบด้วยโพรโตคอลหลายตัว เช่น เทลเน็ต(Telnet) ที่ใช้ติดต่อกับเครื่องเซิฟเวอร์ เอฟทีพี(FTP) ใช้ถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล เอชทีทีพี(HTTP) ใช้นำเสนอข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์บนอินเตอร์เน็ต เอสเอ็มทีพี(SMTP) ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

 

2. ชั้นนำเสนอ (Presentation)

                ทำหน้าที่จัดรูปแบบของข้อมูลที่แตกต่างกันให้เหมาะสมที่หน่วยรับและส่งสามารถเข้าใจกันได้ และยังบีบอัดข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่ง การเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการส่ง

 

3. ชั้นพิจารณา (Session)

                ทำหน้าที่จัดการการเชื่อมต่อ คือสร้างการเชื่อมต่อ จัดการการเชื่อมต่อ ตัดการเชื่อมต่อ จัดการข้อมูลให้ส่งตรงกับโปรแกรมประยุกต์ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่รับส่งถูกต้องและครบถ้วน ถึงแม้จะเปิดใช้งานโปรแกรมหลายโปรแกรม

 

4. ชั้นเคลื่อนย้าย (Transport)

                เป็นชั้นที่อยู่ตรงกลาง ระหว่าง 3 ชั้นล่าง และ 3 ชั้นบน  ทำหน้าที่รับข้อมูลมาจากชั้นพิจารณา แล้วแบ่งข้อมูลออกมาเป็นหน่วยเล็กๆ เรียกว่าแพ็กเกจแล้วส่งต่อให้ชั้นเครือข่าย นอกจากนี้ยังทำการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด จัดลำดับ วิธีอ้างอิงตำแหน่งผู้รับปลายทาง วิธีรวมข้อมูล ความเร็วในการรับส่งข้อมูล โพรโตคอลที่ใช้มากที่สุดในชั้นนี้คือ โพรโตคอลทีซีพี(Transmission Contrrol Protocol; TCP)

 

5. ชั้นเครือข่าย (Network)

            ทำหน้าที่เลือกเส้นทางของข้อมูลจากต้นทางไปปลายทาง ควบคุมความคับคั่งของข้อมูล ในเส้นทางของเครือข่าย โดยแยกแยะเครื่องปลายทางจากหมายเลขประจำเครื่อง โพรโตคอลที่ใช้ในชั้นนี้คือ ไอพี(Internet Protocol) และไอซีเอ็มพี(Internet Control Message Protocol; ICMP) อุปกรณ์เชื่อมต่อในชั้นนี้ได้แก่ เร้าเตอร์ และเกตเวย์

 

6. ชั้นเชื่อมโยงข่อมูล (Data link)

                ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลกลุ่มข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นชุด เฟรม(frame) กำหนดเลขลำดับเฟรมข้อมูล กำหนดจุดเริ่มต้นจุดสิ้นสุดของลำดับข้อมูลที่ต้องการส่ง ควบคุมเวลาและอัตราการไหลของข้อมูล ดูและข้อผิดพลาดของการส่งข้อมูล หากเกิดการสูญหายข้อมูลไม่ไปถึงจุดหมายตามเวลา ก็จะให้ส่งข้อมูลไปใหม่ อุปกรณ์ในชั้นนี้คือ บริดจ์

 

7. ชั้นกายภาพ (Physical)

                ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทางกายภาพของอุปกรณ์และระบบเชื่อมต่อ ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง เช่น การกำหนดคุณลักษณะทางกายภาพ ใช้สายสัญญาณแบบไหน ความเร็วเท่าใด

1 ความคิดเห็น:

  1. โพรโตคอลใดที่ใช้มากที่สุดในชั้นเคลื่อนย้าย (Transport)?
    เข้าถึง Telkom University Jakarta

    ตอบลบ