วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อินเตอร์เน็ต Internet

อินเตอร์เน็ต Internet

ความเป็นมาของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
               ช่วง พ.ศ. 2503-2513 กระทรวงกลาโหมและ มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐได้ร่วมกันวิจัยโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า ARPANET(Advance Research Project Agency Network) เพื่อใช้ในสงครามเย็นกับรัสเซีย โดยใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างฐานทัพต่างด้วยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก โดยออกเครือข่ายเป็นแบบใยแมงมุมคือมีเส้นทางการสื่อสารได้หลายเส้นทาง หากจุดหนึ่งถูกทำลาย ก็สามารถหาเส้นทางอื่นติดต่อสื่อสารทดแทนได้
               ใน พ.ศ.2526 ได้มีการแยกเครือข่าย ARPANET ออกเป็นสองเครือข่ายคือ ARPANET เดิม และ MILNET เพื่อใช้ทางการทหาร แต่ MILNET ก็ถูกยกเลิกในเวลาต่อมา ส่วนARPANET ได้ถูกพัฒนาโดย มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ ให้เป็นเครือข่ายความเร็วสูงระหว่างภูมิภาค(high speed cross-country network backbone) ที่เรียกว่า NSFnet
               ช่วง พ.ศ.2523-2533 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้หยุดสนับสนุน NSFnet และให้มหาวิทยาลัยและภาคเอกชนดำเนินการต่อ ก็ได้เกิดเครือข่ายความเร็วสูงเชื่อมต่ออีกมากมาย เรียกว่า อินเตอร์เน็ต(Internet) ซึ่งมีอัตราการเติบโตขึ้นเป็นอัตราทวีคูณ จนถึงปัจจุบันมีผู้เข้าไปใช้บริการอินเตอร์เน็ตมากกว่า 120 ล้านคน

ความเป็นมาของการใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

               การใช้งานอินเตอร์เน็ตครั้งแรกในประเทศไทยเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(Asian of Technology) ได้ทำการส่งอีเมลผ่านโมเด็มความเร็ว 2,400 บิตต่อวินาที กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ต่อมาปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งระบบเครือข่าย “จุฬาเน็ต” เชื่อมต่อกับเครือข่ายยูยูเน็ต ของบริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยี ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกามีความเร็วในการรับสงข้อมูล 9,600 บิตต่อวินาที ด้วยสายแบบลีสต์ไลน์ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคและเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือเนคเทค(National Electronic and Computer Tecnology Center; NECTEC) ได้จัดตั้งเครือข่าย “ไทยสาร” (Thai Social/Scientific Academic and Research Network; THAISARN) ซึ่งเกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายของเนคเทคเข้ากับเครือข่ายของมหาวิทยาลัย 5 แห่งคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และเพื่อให้อินเตอร์เน็ตแพร่หลายจึงเชื่อมเครือข่ายเข้าเครือข่ายระดับโรงเรียน กลายเป็น SchoolNet ทุกวันนี้ หลังจากนั้นเครือข่ายไทยสารได้ขยายการเชื่อมต่อกัยสถาบันและหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้น และปรับปรุงความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้สูงถึง 64 กิโลบิตต่อวินาที ในหลายเส้นทาง และเช่าวงจรต่างประเทศเชื่อมต่อกับญี่ปุ่น มีความเร็วสูงถึง 2 ล้านบิตต่อวินาที ปัจจุบันมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์มากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงจัดตั้งเป็นบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ดูแลเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย และเชื่อมต่อกับต่างประเทศด้วยความเร็วสูง และเปิดให้มีบริษัทให้บริการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เรียกบริษัทเหล่านี้ว่า ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไอเอสพี(Internet Service Provider; ISP) โดยบริษัทเหล่านี้จะเช่าวงจรสื่อสารความเร็วสูงต่อกับต่างประเทศ ผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเตอร์เน็ตสามารสมัครเป็นสมาชิกก็สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ทันที

ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ต
               อินเตอร์เน็ตเกิดจากการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาต่อเข้าด้วยกันเพื่อแชร์การใช้อุปกรณ์ และข้อมูล ร่วมกัน เพื่อติดต่อสื่อสารกัน จากเครือข่าย LAN(Local Area Network; LAN) เล็กๆ ในสำนักงาน หลายๆ เครือข่ายเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย WAN(Wide Area Network;WAN) กระจายไปจากระดับจังหวัด ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ ผ่านการเชื่อมต่อหลากหลายแบบ เช่นสายระบบโทรศัพท์ การเช่าสายพิเศษ(Leased line) การเชื่อมผ่านระบบไมโครเวฟ การเชื่อมต่อผ่านสาย ISDN หรือ ผ่านดาวเทียม โดยเชื่อมผ่านอุปกรณ์เกตเวย์ (Gateway) หรือประตูเชื่อมต่อ ทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตสามารถขยายตัวได้ไม่มีที่สิ้นสุด โดยมีมาตรฐานการเชื่อมต่อเดียวกันเรียกว่าโพรโทคอล(Protocol) ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไม่มีปัญหา ลักษณะการเชื่อมต่อของอินเตอร์เน็ตเป็นแบบใยแมงมุม การเชื่อมต่อถึงกันทำได้หลากหลายเส้นทางไม่ตายตัว ระบบอินเตอร์เน็ตทำงานแบบไคลเอ็นต์เซอร์ฟเวอร์ โดยผู้ใช้เป็นไคลเอ็นต์ที่ขอใช้บริการต่างๆ เช่นฐานข้อมูล ข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร จากเครื่องแม่ข่ายหรือเซอร์ฟเวอร์
การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต
               1. การเชื่อมต่อโดยตรง โดยเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเตอร์เน็ตผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น สายเช่า ไมโครเวฟ ไอเอสดีเอ็น ซึ่งจะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือไอเอสพี ซึ่งจะเช่าวงจรที่ต่อผ่านการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นเกตเวย์ไปยังประเทศต่างๆ
               2. การเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ โดยใช้การหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็มเข้าสู่เครือข่าย โดยใช้สายโทรศัพท์เป็นสื่อสัญญาณ ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกของไอเอสพี เพื่อที่จะได้รหัสประจำตัว(user ID) และรหัสผ่าน (password) เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ความเร็วในการเชื่อมต่อผ่านการหมุนโทรศัพท์จะช้ากว่าการต่อโดยตรง มีความเร็วตั้งแต่ 9,600 บิตต่อวินาที ถึง 56 กิโลบิตต่อวินาที ค่าใช้จ่ายจะคิดตามเวลาที่เชื่อมต่อ

รูปจาก http://school.obec.go.th

โครงสร้างของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของประเทศไทย

               โครงสร้างของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของประเทศไทยเป็นของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้วางระบบสายข้อมูลหลักหรือแบคโบน(Backbone) การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเตอร์เน็ต(Thailand Internet Exchange Service; THIX) เป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ประกอบด้วย 2 บริการคือ
               1. ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ(International Internet Gateway; IIG) ทำหน้าที่ให้บริการกับไอเอสพีสามารถติดต่อรับส่งข้อมูลเข้าออกระหว่างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยกับต่างประเทศ ด้วยวงจรเคเบิ้ลใต้น้ำไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศย่านเอเซียแปซิฟิก และวงจรตรงดาวเทียม
               2. ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเตอร์เน็ตในประเทศ(National Internet Exchange; NIX) ทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเข้าด้วยกันด้วยวงจรภายในประเทศ ทำให้การติดต่อ สื่อสารข้อมูลกันภายในประเทศได้โดยไม่จำเป็นต้องต่อออกไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนอกประเทศ NIX ได้เปิดให้บริการ 2 ที่ คือ ที่ตึก กสท.โทรคมนาคม กรุงเทพฯ และ ศูนย์โทรคมนาคม จ.นนทบุรี
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น