วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิวัฒนาการของระบบคอมพิวเตอร์

วิวัฒนาการของระบบคอมพิวเตอร์

1. ยุคเมนเฟรมคอมพิวเตอร์

      คุณสมบัติพิเศษของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์      การทำงานทุกอย่างจะอยู่ภายใต้ซอฟท์แวร์ควบคุมบนคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การบันทึกผล การนำเข้าส่งออกข้อมูล ส่วนควบคุมการสื่อสารข้อมูล คุณสมบัติของเมนเฟรมมีดังนี้

       - ประมวลผลข้อมูลจำนวนมากด้วยความรวดเร็วและแม่นยำ

      - วิเคราะห์ผลและสรุปรายงานด้วยข้อมูลชุดเดียวกัน ให้ผลที่แน่นอน

     - การสรุปผลทำได้รวดเร็ว ทำให้งานเสร็จทันเวลา

      แต่เมนเฟรมไม่เหมาะกับงานองค์กรดังนี้

      - ไม่เหมาะกับงานบริการข้อมูลคนทั่วไปเนื่องจากใช้งานยาก

      - ไม่เหมาะกับการเชื่อมต่อกับโลกภายนอกเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเพราะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการนี้

      รูปแบบการทำงานทั่วไปของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์     

      - การบันทึกข้อมูลทำโดยเทอร์มินัลที่ต่อตรงกับคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอ่านข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลอีกต่อหนึ่ง

      - ข้อมูลถูกบันทึกในหน่วยบันทึกข้อมูลที่ต่อตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ การสืบค้นทำโดยซอฟท์แวร์ชุดเดียวกับการประมวลผล

      - ซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนต่างๆ ยากต่อการปรับเปลี่ยนปรับปรุงให้ทันสมัย

      - สรุปผลด้วยการพิมพ์เป็นรายงาน หรือผ่านเครื่องเทอร์มินัล

       - ทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ใช้ต้องมีการฝึกหัดมาโดยเฉพาะ ไม่สามารถทำงานแบบเรียวไทม์ได้

  

2. ยุคไคลเอ็นต์-เซอร์ฟเวอร์

ในยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีมีสมรรถนะมากขึ้น มีแนวคิดที่แบ่งการทำงานบางส่วนมาทำงานกับเครื่องพีซีแทนที่จะทำบนเครื่องเมนเฟรมเครื่องเดียว เนื่องจากพีซีมีขนาดเล็กมีองค์ประกอบเทียบเท่าเมนเฟรม แต่มีทรัพยากรจำกัด และมีราคาไม่แพง จึงเหมาะกับการเป็นเครื่องมือทำงานของพนักงานในแผนกต่างๆ ทำการประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นก่อนจะถูกส่งมารวมกันที่เครื่องเมนเฟรมเพื่อการประมวลผลแบบรวมศูนย์อีกที โครงสร้างเรียกว่าระบบ ไคลเอ็น-เซิร์ฟเวอร์ หรือระบบลูกข่าย-แม่ข่าย โดยเชื่อมด้วยกันผ่านระบบเครือข่ายแลน มีความสามารถเหนือกว่าระบบเมนเฟรมดังนี้

      - มีโปรแกรมซอฟท์แวร์ให้พนักงานปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

      - การบูรณาการข้อมูลทำได้แบบเรียวไทม์ ข้อมูลทันสมัย ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร

      - มีระบบงานที่บริหารทรัพยากรครอบคลุมทุกด้านขององค์กรณ์ มีการเชื่อมต่อสู่บุคคลที่เกี่ยวข้องแบบเรียวไทม์ มีจุดบันทึกข้อมูล ณ จุดบริการเพียงจุดเดียว

เนื่องจากระบบไคลเอ็นต์-เซอร์ฟเวอร์ ถูกจำกัดการใช้งานด้วยระยะทางที่ต้องอยู่ใกล้กัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสำนักงานใหญ่กับโรงงานที่อยู่ห่างไกลทำได้ลำบาก ทำให้งานบริการบุคคลภายนอกทำได้ในวงจำกัด ผู้บริการต้องเดินทางมาใช้เครื่องเทอร์มินัลที่สถาบันบริการสารสนเทศ

 

3. ยุคระบบแบบกระจาย

ระบบแบบกระจาย เป็นระบบที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีหลัก 4 อย่างได้แก่

      - มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้งาน เพื่อปฏิสัมพันธ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ในเครือข่าย

      - มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นเครื่องแม่ข่าย ประกอบด้วย เครื่องเมนเฟรม เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ขนาดตางๆ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการประมวลผลและการเข้าถึงฐานข้อมูล

      - อุปกรณ์ เครือข่ายสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งทำงานด้วยระบบมีสายและไร้สาย โดยเฉพาะอุปกรณ์อินเตอร์เน็ต

      - ระบบซอฟท์แวร์รุ่นใหม่ที่รองรับการทำงานแบบแพร่กระจายอย่างกว้างขวางการออกแบบ อยู่บนพื้นฐาน 3 เรื่อง คือ ภาพรวมสถาปัตยกรรมของระบบ การบริการผู้ใช้ การใช้งาน

          ภาพรวมด้านสถาปัตยกรรมของระบบ เป็นเรื่อง

                     ภาระกิจของระบบงานถูกกำหนดให้ทำ เช่น การให้บริการ การประมวลผล

                    เรื่องเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านอื่นของระบบงาน เช่น ความสะดวกในการใช้ ความถูกต้องของผลลัพธ์ ประสิทธิภาพ 

          เรื่องการบริการผู้ใช้ จะเน้นเรื่อง ให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับระบบงาน กลุ่มผู้ใช้ระบบงาน รวมถึงการประสานงานกับกลุ่มโปรแกรมที่กระจายตามแผนกต่างๆ นักพัฒนาต้องคำนึงถึงดังนี้

                    ภารกิจของซอฟท์แวร์ที่จะถูกสร้างขึ้น

                    การทำงานประสานกันระหว่างชิ้นส่วนโปรแกรมเพื่อบบรรลุตามภารกิจ

          การใช้งานระบบซอฟท์แวร์ ผู้พัฒนาต้องคำนึงถีงการนำชิ้นส่วนซอฟท์แวร์ไปใช้งานจริง ซอฟท์แวร์ส่วนใดทำงานกับคอมพิวเตอร์ชุดใด โครงสร้างของการกระจายต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ใดจึงจะมั่นใจว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในสภาพการทำงานแบบกระจาย ระบบซอฟท์แวร์จะต้องทำงานร่วมกับซอฟท์แวร์อื่นทั้งระบบซอฟท์แวร์ควบคุมและซอฟท์แวร์จัดการฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบซอฟท์แวร์ต้องสามารถเลือกระบบซอฟท์แวร์เหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น